Skip to content
IoT kiddie blog
  • หน้าแรก
  • วิธีใช้งาน
  • Feedback
  • รับเขียนโค้ด
IoT kiddie blog
  • หน้าแรก
  • วิธีใช้งาน
  • Feedback
  • รับเขียนโค้ด

วิธีตั้งค่า wifi และ user บนอุปกรณ์ครั้งแรก เพื่อเชื่อมต่อกับ IoTkiddie

โปรเจคทั้งหมด

  • AC power meter ชุดวัดกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส ด้วย PZEM 004T v3
  • PM meter โปรเจควัดฝุ่น PM2.5 ด้วย PMS7003
  • DC power meter ชุดวัดไฟฟ้ากระแสตรงด้วย PZEM 017
  • DHT โปรเจควัดอุณหภูมิ ความชื้น ในอากาศด้วย DHT11, DHT22 ชุดคิทใช้งานออนไลน์ IoT
  • 3 Phase AC power meter ชุดวัดกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ด้วย PZEM 004T v3

การใช้งานกับ IoTkiddie

  • สัญลักษณ์บนจอ OLED | IoTkiddie
  • วิธีตั้งค่า wifi และ user บนอุปกรณ์ครั้งแรก เพื่อเชื่อมต่อกับ IoTkiddie
  • วิธีแก้ไขค่าบนอุปกรณ์ที่เคยตั้งค่าครั้งแรกไว้แล้ว
  • รีเซ็ตคืนค่าโรงงาน

Developer

  • การใช้งาน Arduino IDE กับ IoTkiddie
  • การอัพโหลดไฟล์ binary เข้าบอร์ด esp8266 โดยตรง
  • การอัพเดทเฟิร์มแวร์จาก Binary file ไร้สายผ่านหน้า config
  • Home
  • Docs
  • การใช้งานกับ IoTkiddie
  • วิธีตั้งค่า wifi และ user บนอุปกรณ์ครั้งแรก เพื่อเชื่อมต่อกับ IoTkiddie

วิธีตั้งค่า wifi และ user บนอุปกรณ์ครั้งแรก เพื่อเชื่อมต่อกับ IoTkiddie

Table of Contents
  • กรณีใช้งานอุปกรณ์ครั้งแรก
    • วิดีโอการเชื่อมต่อด้วยมือถือ
    • สมัครสมาชิกกับ IoTkiddie.com
    • เชื่อมต่อบอร์ดเพื่อตั้งค่า
    • กรอกข้อมูลลงหน้า config ของบอร์ด
    • เพิ่มเติมกรณีอื่นๆ
  • กรณีต้องการแก้ไขค่าที่ตั้งไว้บนบอร์ด

กรณีใช้งานอุปกรณ์ครั้งแรก #

วิดีโอการเชื่อมต่อด้วยมือถือ #

สมัครสมาชิกกับ IoTkiddie.com #

ขั้นตอนแรก อย่างลืมสมัครสมาชิกกับ IoTkiddie.com จะได้ email กับ password ที่ต้องนำไปกรอกบนอุปกรณ์(บอร์ด Wemos D1 mini)ต่อไป

เชื่อมต่อบอร์ดเพื่อตั้งค่า #

เมื่อใช้งานครั้งแรก อุปกรณ์จะอยู่ใน AP mode(access point) หรือเป็น wifi hotspot สังเกตจะมีสัญลักษณ์ บนจอ OLED โดยมีชื่อตามโปรเจคเช่น “acmeter” ให้เชื่อมต่อเข้าไปด้วยรหัสผ่าน “iotbundle”(ตัวพิมพ์เล็กหมด) โดยสามารถใช้อุปกรณ์อะไรก็ได้(คอม มือถือ แท็บเล็ต)ที่สามารถเชื่อมต่อไวไฟได้ ในตัวอย่างนี้ใช้บนคอมพิวเตอร์

มี wifi ชื่อ acmeter สำหรับโปรเจค acmeter
ให้เชื่อมต่อ ใช้รหัสผ่าน “iotbundle“
ให้เข้าไปที่ 192.168.4.1
บางอุปกรณ์จะเข้าหน้านี้ให้อัตโนมัติ
แล้วเลือกที่ configure page ด้านล่าง

กรอกข้อมูลลงหน้า config ของบอร์ด #

จะเข้าสู่หน้า config

จะมีค่าที่ต้องตั้งค่าเพื่อเชื่อมต่อ wifi

  • WIFI SSID ชื่อไวไฟ ใช้ย่าน 2.4G เท่านั้น
  • WIFI password รหัสผ่านไวไฟ

ค่าสำหรับเชื่อมต่อ IoTkiddie บนเว็บ สามารถใส่หรือแก้ไขทีหลังได้ตามหัวข้อนี้

  • อีเมลล์ ที่ใช้สมัครที่หน้าเว็บ
  • รหัสผ่าน ที่ตั้งตอนสมัครที่หน้าเว็บ

และที่เหลือไม่จำเป็นต้องแก้ไขก็ได้

  • ชื่ออุปกรณ์ ถ้ามีอุปกรณ์หลายตัว แนะนำให้เปลี่ยนชื่อให้ไม่ซ้ำกัน เช่น acmeter1 acmeter2
  • รหัสผ่านอุปกรณ์ ค่าเริ่มต้นเป็น “iotbundle“ สำหรับเข้าแก้ไขข้อมูลบนอุปกรณ์เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับรหัส login บนเว็บ iotkiddie.com ถ้าต้องการเปลี่ยนให้ใส่ได้เลย(มากกว่า8ตัวอักษร) หรือปล่อยว่างไว้ถ้าไม่ต้องการแก้ไข สำหรับรหัสผ่านนี้จะใช้สำหรับเชื่อมต่อ wifi hotspot จากบอร์ดและรหัสก่อนเข้าหน้า config บนบอร์ด
  • เซิร์ฟเวอร์ กรณีใช้ server อื่นให้แก้ไขให้ถูกต้อง(อาจจะมีเพิ่มในอนาคต)

ปล. ค่าทั้งหมดสามารถแก้ไขได้ภายหลัง ตามลิ้งนี้

เสร็จแล้วเลือก Apply

หลังเลือก apply ถ้าตั้งค่าถูกต้องหมดแล้วจะขึ้นดังรูป
ให้ disconnect จาก wifi hospot เพื่อให้อุปกรณ์ เข้าสู่โหมดเชื่อมต่อ wifi ต่อไป

อุปกรณ์จะเชื่อมต่อ wifi ตามที่ได้ตั้งไว้ สังเกตจากสัญลักษณ์ จะกระพริบ ขณะกำลังเชื่อมต่อ wifi (ถ้าบอร์ดไม่ยอมเชื่อมต่อให้กดรีเซ็ตที่ข้างบอร์ด 1 ที)

เพิ่มเติมกรณีอื่นๆ #

  • ถ้าค่าของ wifi และ email ถูกต้อง จะมีสัญลักษณ์ ติดค้าง เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จ
  • แต่ถ้า wifi ถูกต้อง แต่ email ไม่ถูกต้อง จะขึ้นสัญลักษณ์ ให้เช็คและแก้ไขค่าอีเมลล์ ตามหน้านี้
  • แต่ถ้าเช็คแล้ว wifi และ email ถูกต้อง แต่ยังขึ้นสัญลักษณ์ เกิดจากเชื่อมต่อไวไฟได้ แต่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ซึ่งมีหลายสาเหตุ เบื้องต้นให้ลองเช็คไวไฟนั้นว่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ หรือลองเปลี่ยน wifi ดู โดยแก้ไข wifi ตามหน้านี้
  • ถ้า wifi เชื่อมต่อไม่ได้ จะขึ้นสัญลักษณ์ กระพริบสลับกับเข้าสู่ AP mode สัญลักษณ์ (รอบละประมาณ 30 วินาที)เพื่อให้เราเข้าไปตั้งค่า ให้ลองเข้าเชื่อมต่อกับ hotspot จากอุปกรณ์ตามขั้นตอนแรก และแก้ค่า wifi ให้ถูกต้อง
  • ถ้ายังไม่ได้ใส่ข้อมูล wifi บอร์ดจะอยู่ใน AP mode จนกว่าเราจะใส่ค่า wifi ให้กับอุปกรณ์

กรณีต้องการแก้ไขค่าที่ตั้งไว้บนบอร์ด #

ค่าทั้งหมดสามารถแก้ไขได้ภายหลัง ตามบทความนี้

Share This Article :
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Pinterest
Still stuck? How can we help?

How can we help?

Updated on สิงหาคม 14, 2023
สัญลักษณ์บนจอ OLED | IoTkiddieวิธีแก้ไขค่าบนอุปกรณ์ที่เคยตั้งค่าครั้งแรกไว้แล้ว

Powered by BetterDocs

Table of Contents
  • กรณีใช้งานอุปกรณ์ครั้งแรก
    • วิดีโอการเชื่อมต่อด้วยมือถือ
    • สมัครสมาชิกกับ IoTkiddie.com
    • เชื่อมต่อบอร์ดเพื่อตั้งค่า
    • กรอกข้อมูลลงหน้า config ของบอร์ด
    • เพิ่มเติมกรณีอื่นๆ
  • กรณีต้องการแก้ไขค่าที่ตั้งไว้บนบอร์ด
© 2025 IoT kiddie blog. Created using WordPress and Colibri